Website only displays Product Catalog, Please add Line: @alphawolf for Purchasing
5 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเลือกซื้อไฟสตูดิโอ


สวัสดีครับเพื่อนๆ เราเชื่อว่าหลายคนคงจะเห็นไฟสตูดิโอที่ออกมากันหลากหลายแบบ หลากหลายประเภท และคงสงสัยกันไม่น้อยว่า แบบไหนที่น่าจะเหมาะสมกับงานของเรามากที่สุด ในบทความนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับ 5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อไฟสตูดิโอ
โดยประเภทไฟสตูดิโอที่เราแนะนำและนิยมถูกนำมาใช้กันมากที่สุดคือ ไฟต่อเนื่องแบบ COB (Chip-On-Board) ที่มีลักษณะเป็นไฟ LED ตรงกลางอันเดียวที่ให้แสงสว่าง และความแม่นยำสีสูง โดยมีปัจจัยในการเลือกซื้อดังนี้
1 กำลังไฟและความสว่างของไฟ (Light Quantity)


เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่บ่งบอกว่า ไฟต่อเนื่องดวงนี้มีกำลังเพียงพอที่จะใช้ในงานของเราได้หรือไม่ โดยเราต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- สินค้าหรือบุคคลที่ต้องการถ่ายมีจำนวน และขนาดเท่าไหร่
- ขนาดของห้องที่ใช้ถ่ายเป็นอย่างไร กี่ตรม. มีหน้าต่างหรือไม่
- ต้องการ Mood ของภาพแบบไหน หน้าสว่างหลังมืด หรือสว่างทั้งห้อง


โดยความสว่างของแสง ปกติเราจะวัดในหน่วย Lux (Luminance) ซึ่งก็คือ ค่าความเข้มข้นของแสงในระยะใดระยะหนึ่ง โดยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับกำลังของไฟในหน่วย Watt ซึ่งถ้าไฟยิ่งมีกำลังวัตต์สูงๆ แสงที่ได้ก็จะมีค่า Lux หรือความสว่างของแสงสูงอีกด้วย โดยเรามีเทคนิคในการเลือกกำลังไฟง่ายๆ แบบนี้
- ไฟขนาด 60 หรือ 100 Watt = ถ่ายสินค้าขนาดเล็ก | พูดคุยครึ่งตัว | หน้าสว่างหลังมืด
- ไฟขนาด 150 หรือ 200 Watt = ถ่ายสินค้าขนาดกลาง | พิธีกร 2 คน
- ไฟขนาด 300 Watt ขึ้นไป = ถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ | พิธีกร 2-4 คน
สำหรับจำนวนชุดไฟ เราแนะนำให้มีอย่างน้อย 2 ชุด วางด้านซ้ายและด้านขวาให้เป็น Main Light และ Fill Light หรือ Hair Light ก็ได้ โดยรายการขนาดไฟที่เราแนะนำมีดังนี้


- ไฟขนาด 60 Watt = Godox SL-60W LED
- ไฟขนาด 100 Watt = Godox SL100D LED, Godox SL100Bi LED
- ไฟขนาด 150 Watt = Godox SL-150 II, Litemons LA150D, Litemons LA150Bi
- ไฟขนาด 200 Watt = Litemons LA200D, Litemons LA200Bi
- ไฟขนาด 300 Watt = Nanlite FS300 LED
2 คุณภาพหรือความแม่นยำของไฟ (Light Quality)


สิ่งที่สำคัญที่ไม่แพ้ความสว่างของไฟก็คือ ความเที่ยงตรงของแสง (Color Accuracy) ซึ่งมีผลสำคัญในการแสดงสีที่ถูกต้องของวัตถุและสีผิวของเรา ไม่ให้ติดเขียว ติดม่วงหรือติดแดงจนเกินไป ซึ่งเรานิยมวัดกันในค่าของ CRI (Color Rendering Index) คือ ค่าความเที่ยงตรงของสี เมื่อแสดงผ่านการมองเห็นด้วยดวงตาของมนุษย์
และค่าของ TLCI (Television Lighting Consistency Index) คือ ค่าความเที่ยงตรงของสี เมื่อแสดงผ่านการมองผ่านกล้องวีดีโอและอุปกรณ์การทำงานต่างๆ
โดยทั้งสองค่า CRI และ TLCI มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 และมาตรฐานไฟสตูดิโอที่ดีควรมีค่า CRI และ TLCI มากกว่าหรือเท่ากับ 95 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไฟบนฝ้าเพดานปกติจะมีค่า CRI และ TLCI อยู่ที่ประมาณ 80 เท่านั้นเอง
และคุณสมบัติของไฟสตูดิโออีกอย่างหนึ่งคือ Flicker Free หรือไม่มีการกระพริบของหลอดไฟ ไม่ว่าจะใช้สัญญาณภาพแบบ NTSC หรือ PAL หรือการถ่ายวีดีโอด้วยเฟรมเรทสูงๆ (High Frame Rate) หากใช้ Shutter Speed สูงๆ ซึ่งโดยปกติไฟสตูดิโอรุ่นใหม่ที่ออกมา จะเป็นแบบ Flicker Free เกือบทั้งหมด
3 การปรับอุณหภูมิของสีด้วยค่า Kelvin (Adjustable Color Temperature)


หนึ่งในปัจจัยที่ในปัจจุบันเริ่มมีความสำคัญก็คือ ความสามารถในการปรับอุณหภูมิสีของแสง หรือค่า Kelvin (K) นั้นเอง โดยไฟสตูดิโอมีให้เลือก 2 แบบหลักๆ คือ แบบ Daylight ที่ให้แสงสีขาว 5600K อย่างเดียว กับแบบ Bi-Color ที่สามารถปรับอุณหภูมิสีของแสงได้ เช่น ตั้งแต่ 3000K จนถึง 6500K
แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความสว่างที่ไม่ได้เต็มที่อย่างแบบ Daylight อย่างเดียว โดยจะมีความสว่างลดลงไปถึง 15 – 20% เลยทีเดียว หากถามอีกว่าเราควรเลือกใช้ไฟแบบไหนดี อันนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก
โดยหากเราคิดว่าจะถ่ายรูปถ่ายวีดีโอด้วยแสงสีขาวอย่างเดียว เช่น การไลฟ์สด, การสัมภาษณ์, ถ่ายYoutube, etc. จะแนะนำแบบ Daylight แต่หากต้องการใช้แสงในสีต่างๆ หรือจำลองแสงช่วงเช้า กลางวัน เย็น หรือจะแมทแสงให้เข้ากับบรรยากาศในโรงแรมหรืออาคารต่างๆ จะแนะนำเป็นแบบ Bi-Color ครับ


สำหรับรายการไฟที่เป็นแบบ Daylight และ Bi-Color มีดังนี้
- Daylight 100 Watt = Godox SL100D LED
- Daylight 150 Watt = Litemons LA150D LED
- Daylight 200 Watt = Litemons LA200D LED
- Bi-Color 100 Watt = Godox SL100Bi LED
- Bi-Color 150 Watt = Litemons LA150Bi LED
- Bi-Color 200 Watt = Litemons LA200Bi LED
4 เสียบปลั๊กหรือใช้แบตเตอรี่ได้ (Plug-in Only or Battery Powered)


สำหรับคนที่ต้องใช้งานนอกสถานที่บ่อยๆ (Outdoor) หรือ Run & Gun ถ่ายโมเมนต์งานแต่ง หรืองานรื่นเริงต่างๆ การใช้แบตเตอรี่มีความสำคัญมาก เนื่องจากการไปหาปลั๊กเสียบต่างสถานที่ อาจจะไม่สะดวกเท่าไหร่ ไฟสตูดิโอที่สามารถใช้แบตเตอรี่ได้จึงจะตอบโจทย์ได้มากกว่า
โดยแบตเตอรี่ที่ใช้กับไฟสตูดิโอจะมี 2 ประเภทคือ แบบ V-Mount Battery และ NP-F Battery โดยแบบแรกจะมีราคาสูงกว่าพอสมควร แต่จะให้กำลังไฟที่สูงและต่อเนื่องเหมาะกับไฟกำลังวัตต์สูงๆ ส่วนอีกแบบจะใช้กับไฟที่มีกำลังไม่มาก และมีราคาที่ไม่สูงมากนัก
สำหรับรายการไฟที่ใช้แบตเตอรี่ได้จะมีดังนี้
- Godox ML60 Daylight Portable LED
- Godox ML60Bi Bi-Color Portable LED
- Godox VL150 Studio LED
- Godox VL300 Studio LED
5 การควบคุมผ่านมือถือ (APP Control at Ease)


ฟีเจอร์ใหม่ที่หลายคนอาจจะมองข้าม และเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นแล้วในตอนนี้ นอกจากจะทำให้เราปรับกำลังไฟได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้เราควบคุมไฟหลายๆ ตัวได้ในระยะไกลอีกด้วย เรียกได้ว่า หากเคยใช้มาแล้ว จะกลับไปไม่ใช้อีกไม่ได้แน่ ซึ่งทาง Godox ได้เล็งเห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในส่วนนี้ จึงได้พัฒนาแอป Godox Light เพื่อนำมาใช้งานกับไฟสตูดิโอ Godox รุ่นใหม่ได้ทุกรุ่น
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีในเรื่องของเม้าท์ของไฟสตูดิโอที่ควรเป็นแบบ Bowen Mount (S-Type Bowen) เพื่อให้สามารถใช้ไดักับ Softbox หรือ Light Modifiers ทั่วไปได้อีกด้วย


และนี้คือ 5 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเลือกซื้อไฟสตูดิโอ ที่เราอยากมาแนะนำเพื่อนๆ เพื่อช่วยในการเลือกตัดสินใจซื้อไฟสตูดิโอซักตัวที่มีราคาสูงพอสมควร ให้ตอบโจทย์และคุ้มค่าต่อการใช้งานของเพื่อนๆ มากที่สุด ทั้งนี้ถ้าเพื่อนๆ มีข้อสงสัยตรงไหน สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ Line @alphawolf ได้เลยครับผม